ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่
การรวมกลุ่มของประชาชน
ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน 1 แห่ง
กลุ่มแม่บ้าน 2 แห่ง
ศูนย์สงเคราะห์ราษฎร 1 แห่ง
ชมรมสาธารณสุข 1 แห่ง
เครือข่ายเยาวชนตำบล 1 แห่ง
ชมรมตาดีกา 1 แห่ง
ศูนย์กีฬาตำบล 1 แห่ง
ศูนย์เยาวชนตำบล 1 แห่ง
จุดเด่นของพื้นที่
- ตำบลท่าสาปมีพื้นที่ติดต่อกับเทศบาลนครยะลา อันเป็นชุมชนเมืองใหญ่ทำให้ความเจริญด้านวัตถุได้ขยายเข้าสู่ตำบลในระดับหนึ่ง และสภาพความเป็นอยู่ของราษฎรยังเป็นสังคมชนบท มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ราษฎรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามและมีความเคร่งครัดทางศาสนา
- สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นพื้นราบ มีแม่น้ำปัตตานีไหลผ่าน 5 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1,2,3,4 และ 5 ราษฎรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากดินมีคุณภาพดีและมีน้ำตลอดทั้งปี พืชที่ปลูกได้แก่ ยางพารา ผลไม้ ได้แก่ ทุเรียน ลองกอง
- สถานที่ท่องเที่ยง
- ตลาดท่าแพท่าสาป
- ชุมชนเมืองเก่า
- ทางเลียบแม่น้ำปัตตานี
การบริการพื้นฐานการคมนาคม มีถนนจำนวน 27 สาย เป็นดินลูกรัง 8 สาย เป็นถนนลาดยาง 5 สาย เป็นถนนคอนกรีต 14 สาย การโทรคมนาคม โทรศัพท์สาธารณะ 4 แห่ง หอกระจายข่าว 6 แห่ง การไฟฟ้า มีไฟฟ้าใช้ครบทั้ง 6 หมู่บ้าน แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น บ่อน้ำดื่ม 571 แห่ง บ่อโยก 7 แห่ง บ่อบาดาลและแหล่งน้ำประเภทอื่นๆ 36 แห่ง ข้อมูลอื่นๆ ทรัพยากรในพื้นที่ ทรัพยากรดิน ทรัพยากรดินเป็นปัจจัยหลักที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบต่างๆเช่น ใช้ในการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร ใช้ในอุตสาหกรรม ให้เป็นที่อยู่อาศัยและในเชิงพาณิชย์ ทรัพยากรดินในเขต อบต. จัดว่าอยู่ในคุณภาพของดินสูง ทรัพยากรน้ำ แหล่งน้ำที่ไหลผ่านในเขต อบต. ท่าสาป เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติที่แห่งตลอดปี เกษตรสามารถใช้ประโยชน์ในแหล่งน้ำได้ตลอดทั้งปีสภาพปัญหา ด้านโครงสร้างพื้นฐาน 1. ต้องการเส้นทางคมนาคมที่เพียงพอและได้มาตรฐาน 2. ต้องการมีไฟฟ้าตามถนนอย่างเพียงพอ 3. ต้องการให้มีระบบชลประทาน 4. ต้องการให้มีโทรศัพท์ทุกหมู่บ้าน และต้องการตู้โทรศัพท์อย่างเพียงพอ 5. ต้องการระบบประปาที่สามารถผลิตน้ำอย่างมีคุณภาพและทั่วทุกหมู่บ้าน 6. ต้องการทางระบายน้ำอย่างเพียงพอ 7. ต้องการสถานศึกษาอย่างเพียงพอ ด้านคุณภาพชีวิต 1. ให้ความรู้และกระตุ้นเยาวชนตระหนักถึงโทษของยาเสพติด 2. ต้องการสนามกีฬาและที่พักผ่อนสาธารณะ ด้านรายได้ราษฎร 1. ต้องการให้มีการจัดการฝึกอบรมแก่ราษฎร 2. ต้องการให้มีการส่งเสริมกลุ่มอาชีพ